Bangkok Software Co.,LTD.

บริษัท บางกอกซอฟแวร์ จำกัด


ห้องสมุดมีชีวิต,ห้องสมุดดิจิตอล,ห้องสมุดดิจิตัล
DIGITAL LIBRARY

 


ความหมายของ "ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library)"
     ห้องสมุดดิจิตอล (Digital library)
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล เพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรง ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects คือ เนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Dataนั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties. ลักษณะของห้องสมุดดิจิตอล องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสารสนเทศห้องสมุด
ลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า digital object
2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร
3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล
4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
6. มีวัฎจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
ความแตกต่างของห้องสมุดแบบเดิมและห้องสมุดดิจิตอล
การทำงานของห้องสมุดแบบเดิมผู้ใช้จะมาใช้ทรัพยาสารนิเทศ เช่นหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในสถานที่จัดเก็บทรัพยากรคือห้องสมุด หรือใช้ค้นรายการบรรณานุกรมก่อนที่จะหาทรัพยากรที่ต้องการ เป็นห้องสมุดที่เน้น การมี Collection บริการภายในอาคารสถานที่ บนห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Server) โดยผู้ใช้เข้าใช้ข้อมูลได้โดยตรงผ่านระบบเครือข่ายหรือค้นผ่านรายการสืบค้น (Catalog) โดยมีองค์ประกอบ การทำงานของห้องสมุดดิจิตอลได้แก่ การสร้างและจัดหา (Creat and capture) การจัดเก็บและจัดการข้อมูล (Storage and Management ) การสืบค้น (Search / Access) การเผยแพร่ข้อมูล (Distribution)
กระบวนการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลเป็นการวางแผนการจัดการข้อมูลดิจิตอลที่ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนตามโครงการหรือ แผนงานที่วางไว้โดยการพัฒนาโครงการห้องสมุดดิจิตอลจำเป็นจะต้อง พิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้
1. วัตถุประสงค์และความจำเป็นของการพัฒนา
2. เนื้อหาที่ต้องการจัดเก็บ
3. ขนาดของโครงการที่จะพัฒนา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
4. อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในโครงการและการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. กำหนดผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเพื่อพัฒนางานตามโครงการ การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล เป็นการใช้แนวคิดในการจัดการระบบงานห้องสมุดมาใช้ในการจัดการข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอล โดยใช้หลักการของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งต้องศึกษาความพร้อมทั้งด้านความต้องการของผู้ใช้ ความจำเป็นสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมกำลังคนเทคโนโลยีความคุ้มค่าในการลงทุนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ข้อมูลในองค์กร และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยใช้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องร่วมกันในการสร้างแหล่งความรู้ของสังคมรูปแบบใหม่ การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลจะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล ความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้และงบประมาณ